ปุ๋ย

ปุ๋ยไนโตรเจน (N: Nitrogen)


มี 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1. ปุ๋ยไนโตรเจนประเภทอินทรีย์
2. ปุ๋ยไนโตรเจนประเภทอนินทรีย์หรือปุ๋ยเคมี
-ประเภทอินทรีย์ หมายถึง ปุ๋ยที่ได้จาสิ่งที่มีชีวิต เกิดการเน่าเปื่อยผุพังไป เช่น ปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกปุ๋ยเทศบาล เป็นต้น ปุ๋ยประเภทนี้จะมีปริมาณธาตุไนโตรเจนต่ำ ฉะนั้นในการใช้แต่ละครั้งต้องใช้ในปริมาณมากแต่มีความจำเป็นต้องใช้เพราะให้ประโยชน์ในการปรับปรุงดินให้โปร่ง ร่วนซุย ซึ่งเป็นสมบัติทางกายภาพที่สำคัญของดินที่พืชต้องการ
-ประเภทอนินทรีย์หรือปุ๋ยเคมี ส่วนใหญ่ได้จากการสังเคราะห์ทางเคมี ปัจจุบันนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร แบ่งเป็นหลายประเภท ได้แก่

1.ปุ๋ยแอมโมเนีย (NH3) หรือ anhydrous ammoniaหรือliquid ammonia(แอมโมเนียมเหลว) มีไนโตรเจนทั้งหมด 82%เป็นปุ๋ยที่มีปริมาณไนโตรเจนสูงที่สุด

2.ปุ๋ยยูเรีย(CO(NH2)2)เป็นเม็ดกลมสีขาว มีไนโตรเจนสูงรองจากปุ๋ยแอมโมเนีย คือ มีไนโตรเจนทั้งหมด 46%มีสมบัติดูดความชื้นได้ง่าย

3.ปุ๋ยแอมโมเนียมไนเตรต(NH4NO3) มีไนโตรเจนทั้งหมด35%

4.ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต(NH4)2SO4 มีไนโตรเจนทั้งหมด21%

5.ปุ๋ยแอมโมเนียมคลอไรด์(NH4Cl) มีไนโตรเจนทั้งหมด24-26%

6.ปุ๋ยโซเดียมไนเตรต(NaNO3)มีไนโตรเจนทั้งหมด16%

7.ปุ๋ยแคลเซียมไซยาไนด์ (CaCN2)มีไนโตรเจนทั้งหมด21-22%เป็นอันตรายต่อคนและสัตว์เวลาใช้ต้องใช้อย่างระมัดระวัง อาจใช้เป็นยาฆ่าหญ้า และฉีดพ่นให้ใบฝ้ายร่วงก่อนการเก็บเกี่ยวได้ด้วย

8.ปุ๋ยแคลเซียมไนเตรต(Ca(NO3)2)มีไนโตรเจนทั้งหมด15.5%

9.ปุ๋ยแอมโมเนียมไนเตรตซัลเฟต(NH4NO3.(NH4)2SO4) มีไนโตรเจนทั้งหมด30%

10.ปุ๋ยไนโตรเจนอื่นๆ เช่น ปุ๋ยแอมโมเนียมฟอสเฟต ปุ๋ยแอมโมเนียมฟอสเฟต-ซัลเฟตปุ๋ยยูเรีย-ซัลเฟอร์ปุ๋ยยูเรีย-ฟอสเฟต เป็นต้น

ปกติธาตุไนโตรเจนในดินมีอยู่น้อยมากส่วนใหญ่เป็นส่วนผสมอยู่ในอากาศ ซึ่งมีธาตุนี้อยู่ถึง 78%ของปริมาณอากาศทั้งหมดที่ห่อหุ้มโลก โดยอยู่ในรูปของโมเลกุลไนโตรเจน (N2) ซึ่งพืชส่วนใหญ่ไม่สามารถนำมาใช้ได้โดยตรง นอกจากพืชตระกูลถั่วเท่านั้น ดังนั้นไนโตรเจนจะถูกเปลี่ยนให้อยู่ ในรูปสารประกอบอนินทรีย์เสียก่อน เช่น ในรูปของไนเตรต(NO3-) หรือแอมโมเนีย (NH4+) จึงจะนำไปใช้เป็นปุ๋ยได้

ปุ๋ยฟอสเฟต (P: Phosphorus)


ปุ๋ยฟอสเฟต เป็นปุ๋ยเคมีที่ให้ธาตุฟอสฟอรัสในรูปสารประกอบฟอสเฟตpH ของดินมีผลต่ออนุมูลของฟอสเฟตพบว่า

-pHของดินในช่วง 5-8 ฟอสเฟตจะอยู่ในรูปH2PO4-(dihydrogen phosphate ion)และHPO42-(hydrogen phosphate ion)

-pHของดินต่ำกว่า 5 ฟอสเฟตจะอยู่ในรูปH3PO4(กรดฟอสฟอริก)

-pHของดินมากกว่า 8 ขึ้นไป ฟอสเฟตจะอยู่ในรูปPO43-(ฟอสเฟตไอออน)

ในสภาวะดินในช่วงpH5-8 ปุ๋ยฟอสเฟตในการช่วยเสริมการเจริญเติบโต และความแข็งแรงของพืชทั้งส่วนราก ลำต้น และใบ ตลอดจนการออกดอกออกผล

การผลิตปุ๋ยฟอสเฟต ปัจจุบันนี้ใช้วัตถุดิบคือ หินฟอสเฟต (phosphaterock)หินฟอสเฟตในประเทศไทยมีมากในหลายจังหวัด เช่น ร้อยเอ็ด ลำพูน กาญจนบุรี เพชรบูรณ์ และราชบุรี หินฟอสเฟตจากแหล่งดินดังกล่าวมีฟอสฟอรัสคิดเป็นปริมาณของP2O5อยู่ร้อยละ 20-40 โดยมวลจึงมีการนำหินฟอสเฟตที่บดละเอียดแล้วใส่ลงในดินเพื่อใช้เป็นปุ๋ยโดยตรงแต่หินฟอสเฟตละลายน้ำได้น้อยมาก พืชจึงนำฟอสฟอรัสไปใช้ประโยชน์ได้น้อยมาก ทำให้ต้องใช้หินฟอสเฟตในปริมาณมากซึ่งไม่คุ้มค่า จึงมีการนำหินฟอสเฟตมาใช้ผลิตปุ๋ยฟอสเฟต

1. ปุ๋ยหินฟอสเฟต (Rock Phosphate)
หินฟอสเฟต คือ หินซึ่งมีแร่อะพาไทต์ (apatite) เป็นองค์ประกอบสำคัญ มีปริมาณ ฟอสฟอรัสมากพอที่จะใช้เป็นปุ๋ยได้โดยตรงหรือทำปฏิกิริยาเคมีเพื่อเปลี่ยนเป็นปุ๋ยฟอสเฟตที่ละลายง่าย

2. ไดแอมโนเนียมฟอสเฟต
ไดแอมโนเนียมฟอสเฟต (diammonium phosphate, DAP : 18-46-0) ผลิตได้จาก ปฏิกิริยาระหว่างแอมโมนียกับกรดฟอสฟอริก มี 2 แบบ ได้แก่
2.1 ปุ๋ยรูปผลึก (crystalline form) มีไนโตรเจนทั้งหมด และฟอสฟอรัสที่เป็น ประโยชน์ต่ำกว่าเกลือบริสุทธิ์เล็กน้อย ทั้งนี้ขึ้นกับปริมาณของสิ่งเจือปน ปุยประเภทนี้เหมาะกับใช้ ฉีดพ่นทางใบ
2.2 ปุ๋ยชนิดเม็ด (granular fertilizer) โดยทั่วไปมีสูตร 18-46-0 เหมาะกับใช้ทางดิน และนิยมใช้เป็นแม่ปุ๋ย ผสมป็นปุ๋ยสูตรต่าง ๆ ที่มีจำหน่ายในท้องตลาด

3. โมโนแอมโมเนียมฟอสเฟต
โมโนแอมโมเนียมฟอสเฟต (monoammonium phosphate, MAP : 11-52-0) ผลิตได้จากปฏิกิริยา ระหว่างแอมโมนียกับกรดฟอสฟอริก มี 2 แบบ ได้แก่
3.1 ปุ๋ยรูปผลึก (crystalline form) มีไนโตรเจนทั้งหมด และฟอสเฟตที่เป็น ประโยชน์ต่ำกว่าเกลืบริสุทธิ์เล็กน้อย ทั้งนี้ขึ้นกับปริมาณของสิ่งเจือปน ปุยประเภทนี้เหมาะกับใช้ ฉีดพ่นทางใบ
3.2 ปุ๋ยชนิดเม็ด (granular fertilizer) โดยทั่วไปมีสูตร 11-52-0 เหมาะกับใช้ทางดิน

4. ชูเปอร์ฟอสเฟต
การจำแนกยซูเปอร์ฟอสเฟต แบ่งตามปริมาณฟอสเฟตที่เป็นประโยชน์ ได้ 3 ชนิด คือ
4.1 ซูเปอร์ฟอสเฟต (single superphosphate, SSP) ผลิตจากปฏิกิริยาระหว่างหิน ฟอสเฟตและกรดชัลฟิวริก ได้โมโนแคลเชียมฟอสเฟตโมโนไฮเดรต ปนกับ แคลเชียมชัลเฟต ได้ปุ๋ย ที่มีฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ POอยู่ 20% สูตร 0-20-0 แคลเชียม 19-21% และกำมะถัน 10-12% เนื่องจากมีปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ต่ำ จึงไม่นิยมใช้

4.2 ดับเบิ้ลซูเปอร์ฟอสเฟต (double superphosphate, DSP) ผลิตจากปฏิกิริยา ระว่างหินฟอสเฟตและกรดฟอสฟอริกซึ่งเกรดไม่สมากนัก ได้(ยกี่มีฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ P2O5 อยู่ 40% สูตร 0-40-0 เรียก ดับเบิ้ล เนื่องจากมีฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ P2O5 อยู่ 2 เท่ของ ซูเปอร์ฟอสเฟต

4.3 ทริปเปิลซูเปอร์ฟอสเฟต (triple superphosphate, TSP) ผลิตจากปฏิกิริยา ระหว่างหินฟอสเฟตและกรดฟอสฟอริกที่มีความเข้มข้นสูงกับกรดชัลฟิวริก องค์ประกอบคือโมโน แคลเชียฟอสเฟตโมโนไฮเดรต มีฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ 45-48% สูตรโดยทั่วไปคือ 0-46-0 ปุ๋ยชนิดนี้จัดอยู่ในประเภทปุ๋ยฟอสเฟตเข้มข้น (concentrated superphosphate)

ปุ๋ยโพแทส (K: Potassium)


โพแทสเซียมเป็นธาตุอาหารหลักที่จำเป็นต่อพืชมาก ทำให้ผนังเซลล์ของพืชหนาขึ้น การปิด และเปิดปากใบ สร้างภูมิต้านทานโรค และเป็นตัวเร่งให้เซลล์ทำงานได้ดีขึ้น เพิ่มควมหวาน ป้องกันผลจากพืชได้รับไนโตรเจน และฟอสฟอรัสมากเกินไป มีส่วนช่วยให้พืชมีภูมิต้านโรคและแมลงได้มากที่สุด

ถ้าพืชขาดโพแทสเซียมจะทำให้ มีปริมาณแป้งต่ำกว่าปกติ ผลผลิตลดน้อยลงขอบใบมีสีซีด ลำต้นอ่อน แคระแกร็นและเมล็ดลีบ  อัตราการสังเคราะห์แสงลดลง ในไม้ผลจะทำ ให้คุณภาพและผลผลิตต่ำ สีไม่สวย เนื้อไม่แน่น ในพืชพวกส้มกรดซิตริกจะน้อยลง แสดงอาการขาดที่ใบล่าง เช่น ใบเหลืองเป็นแนว ซึ่งมักเกิดขึ้นในใบแก่ก่อน และใบแห้งตายเป็นจุดๆ โดยเฉพาะบริเวณขอบ และปลายใบ ใบม้วนงอ ลำต้นมีปล้องสั้น ลำต้นอ่อนแอ แคระแกร็น และหักล้มได้ง่าย พืชจะเจริญเติบโตช้า 

หากมีปุ๋ยโปแตสเซียมมากเกินไป พืชจะดูดซึมแอมโมเนียซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของไนโตรเจนได้น้อยลง จะทำให้พืชเจริญเติบโตช้าลง

โพแทสเซียมป็นธาตุที่มีองค์ประกอบอยู่ในหินและแร่ต่าง ๆ พบมากในผิวโลกเป็นลำดับที่ 7 เกลือของโพแทสเซียมที่ใช้ผลิตเป็นปุ๋ย เรียกว่า ปุ๋ยโพแทส (potash fertilizer)

ในปัจจุบัน 95% ของเกลือโพแทสทั่วโลกใช้เป็นยา ส่วนอีก 5% ที่เหลือใช้ในอุตสาหกรรมด้านอื่น ๆ และอีก 92% ของปุ๋ยคือ โพแทสเซียมคลอไรด์หรือ muriate of potash : MOP เกลือโพแทสของ muriatic acid หรือ กรดไฮโดรคลอริก ส่วนที่เหลือเป็นปุ๋ยโพแทสชนิดอื่น ๆ ได้แก่ โพแทสเซียมซัลเฟต (sulfate of potash, SOP) โพแทสเซียมไนเตรท และโพแทสเซียมฟอสเฟต สำหรับในประเทศไทย พบแหล่งแร่โพแทสที่ค่อนข้างใหญ่ในแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่

ในแอ่งโคราช (Khorat basin) และ แอ่งสกลนคร (Sakhon Nakhon basin) แสำคัญที่พบอยู่ในรูปของแร่คาร์นัลไลต์และแร่ซอลวาไนต์

ในแอ่งโคราช พบแร่คาร์นัลไลต์ ส่วนในแอ่งสกลนคร พบแร่ชอลวาไนต์ เป็นจำนวนมาก

1. ปุ๋ยโพแทสเชียมคลอไรด์ (murate of potash : KCL) มีปริมาณ K2O 60% (สูตรปุ๋ย 0-0-60)

ผลิตโดย เริ่มจากการขุดสินแร่โพแทสจากเหมือง การแต่งแร่ให้สะอาด และการเพิ่มขนาดอนุภาคปุ๋ย วิธีการในการผลิตไม่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ยมากนัก จึงเป็นเหตุให้มีราดาถูกและเป็นปุ๋ยที่นิยมใช้กันทั่วโลก

ปุ๋ย KCI นอกจากจะให้ K แล้ว ยังให้ธาตุคลอรีน CI แต่พืชต้องการ CI น้อยมาก ดังนั้น Cl ที่อยู่ในปุ๋ย C จึงมักจะเกินความต้องการของพืชเสมอ พืชส่วนมากมีความทนทานต่อพิษของ Cl ได้มากพอควร แต่บางชนิดทนไม่ค่อยได้ ต้องใช้ความระมัดระวังในการใช้เป็นพิเศษ เช่น ยาสูบ

การได้รับ Cl มากเกินไปจะทำให้คุณภาพของใบยาต่ำ เช่น คุณภาพในการติดไฟเลวลง การใช้ Cl กับมันฝรั่งมากเกินไป จะทำให้ปริมาณแป้งในหัวลดลง นอกจากนั้น การใช้ปุ๋ยที่มี CI มากเกินไปกับพืชบางชนิด เช่น ถั่ว สัม อาจเกิดผลเสียต่อพืชได้ พืชเหล่นี้การใช้ยโพแทสเซียมซัลเฟต อาจให้ผลดีกว่าการใช้ Cl ในขณะที่พืชบางชนิด เช่น มะเขือเทศ ผักกาดหัว เป็นพืชที่ชอบ Cl มาก เนื่องจากปุ๋ย Cl มีฤทธิ์เป็นกลาง การใส่ปุยนี้จะไม่ทำให้ pH ของดินเปลี่ยนแปลง

2. ปุ๋ยโพแทสเซียมซัลเฟต( SO) มีปริมาณ (K2SO4) 50% (สูตรปุ๋ย 0-0-50)

เตรียมจากสินแรโพแทสเชียม เช่นเดียวกับปุ๋ย KClโดยใช้กระบวนการแต่งแร่ซัลเฟตให้สะอาด และใช้กระบวนการแปรสภาพแร่โพแทสด้วยความร้อน คุณสมบัติทั่วไปคล้ายกับ KCl ผิดกันแต่องค์ประกอบของ S และ Cl นิยมใช้กับมันฝรั่งและยาสูบ เนื่องจากพืชทั้งสองชนิดไม่ชอบ Cl และปุ๋ยนี้อาจใช้กับดินที่ขาด S โดยไม่ทำให้ pH ของดินเปลี่ยนแปลง

การเปลี่ยนแปลงของปุ๋ยโพแทสในดิน

โพแทสเชียมในดินแบ่งตามความเป็นประโยชน์ต่อพืชได้ ดังนี้

1. รูปที่พีชดูดไปใช้ได้ง่ย คือ โพแทสเชียมไอออน (K) ในสารละลายดินและโพแทสเซียมไอออนที่แลกเปลี่ยนได้

2. รูปที่เป็นประโยชน์แก่พืชอย่างช้า ๆ (slowly available K) คือ โพแทสเชียมที่ถูกตรึง (fxed K) อยู่ในหลืบของแร่ดินเหนียวบางประเภทหรือเป็นรูปที่แลกเปลี่ยนไม่ได้ (nonexchange-able)

3. ในรูปที่ไม่เป็นประโยชน์กับพืช (unavalable K) คือ โพแทสเชียมที่เป็นองค์ประกอบของแร่ต่าง ๆในดิน

สำหรับธาตุ ในดินอาจสูญหายไปได้ 3 ทาง คือ พืชดูดซึมไปใช้ การถูกชะล้างและการติดไปกับมวลดินที่กร่อน การที่พืชเจริญเติบโตในดินได้โดยไขาดแคลนโพแทสเซียม แสดงว่านอกจากรากพืชจะดูดธาตุนี้ในรูปที่เป็นประโยชน์จากสารละลายดินที่แลกเปลี่ยนได้มาใช้แล้ว ดินนั้นยังสามารถปลดปล่อยโพแทสเซียมที่ถูกตรึและเป็นองค์ประกอบของแร่ ออกมาให้พืชใช้ได้อย่างต่อเนื่องและพอเพียงด้วย แต่ถ้าพืชชนิดนั้น ๆ ต้องการโพแทสเชียมในปริมาณที่สูงกว่าความสามารถที่ดินจะมีให้ได้ ก็จำเป็นต้องใส่ปุ๋ยโพแทสเชียมเพิ่มในอัตราที่เหมาะสม

K+ ที่เพิ่มขึ้นในสารละลายดินอย่างมาก เมื่อใส่ปุ๋ยโพแทสนั้น อาจจะมีผลกระทบกับสมดุลของธาตุนี้ที่มีอยู่เดิมในดินเมื่อ K+ แตกตัวในสารละลายดินในปริมาณมาก จะเคลื่อนย้ายมาดูดซับที่ผิวของคอลลอยด์ดิน ทำให้ปริมาณของส่วนที่แลกเปลี่ยนได้เพิ่มขึ้นนอกจากนี้โพแทสเชียมไอออนบางส่วนจากปุ๋ยบางส่วนยังถูกแร่ดินเหนียวตรึงไว้อีกด้วย

อย่างไรก็ตาม ภายหลังใส่ปุ๋ยโพแทสลงในดิน ความเข้มข้นของโพแทสเชียมที่เป็นประโยชน์ต่อพืชในดินย่อมสูงขึ้น แต่ปริมาณที่เพิ่มขึ้นนั้นจะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับอัตราปุ๋ยโพแทสที่ใส่และความสามารถในการตรึง K ของดินนั้น ๆ ด้วย

 


ที่มา
ห้องสมุดกรมวิทยาศาสตร์ - กรมวิทยาศาสตร์บริการ
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)